วิสัยทัศน์/พันธกิจ/เป้าประสงค์/กลยุทธ์

วิสัยทัศน์
        “โรงเรียนดีและทันสมัย  ได้มาตรฐาน  บนพื้นฐานความเป็นไทย”
 
พันธกิจ
       1. จัดการศึกษาอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพสอดคล้องกับหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  
         และโครงการโรงเรียนดีใกล้บ้าน

      2. สร้างโรงเรียนชั้นดีให้เด็กไทยได้เรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต  ประสานและส่งเสริมการจัดการศึกษา
         โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

      3. สร้างผู้เรียนให้รู้จักคิดวิเคราะห์  มีความสามารถทางด้านเทคโนโลยี
      4. สร้างผู้เรียนให้เป็นผู้มีคุณธรรม รักษ์วัฒนธรรมไทยและมั่นใจในตนเอง
      5. พัฒนาครูและบุคลากรสู่ความเป็นมืออาชีพ 

เป้าหมาย
      1. ประชากรทุกคนได้รับโอกาสในการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ตามสิทธิอย่างทั่วถึงเท่าเทียมและตรงตามศักยภาพ
             -  พัฒนาความพร้อมของนักเรียนระดับปฐมวัย  ให้มีความพร้อมที่จะเข้าเรียนระดับการศึกษาภาคบังคับwด้อย่างมี
                 คุณภาพ
             -   
สนับสนุนเด็กวัยการศึกษาภาคบังคับให้ได้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
     
       2. ผู้เรียนทุกคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานมีคุณธรรมนำความรู้  
             -  
ส่งเสริมการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น
             -  สร้างความเข้าใจให้ครูทุกคนสามารถนำหลักสูตรไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดแทรกคุณธรรมนำความรู้
                ให้นักเรียนได้ทุกคน

       3.  ผู้เรียนทุกคนได้รับการพัฒนาด้านภาษา คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและทักษะอาชีพเพื่อการพึ่งพาตนเอง 
            และเพิ่มสมรรถนะการแข่งขันในระดับสากล

       4.   ส่งเสริมกิจการนักเรียนและเครือข่ายบ้าน วัด โรงเรียน


กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
      กลยุทธ์ที่ 1  พัฒนาระบบการให้การบริการทางการศึกษาให้มีคุณภาพสำหรับเด็กทุกคน
      กลยุทธ์ที่ 2  พัฒนาหลักสูตร สื่อนวัตกรรมการเรียนรู้และการประกันคุณภาพภายใน
      กลยุทธ์ที่ 3  พัฒนาผู้เรียน ให้มีคุณธรรมนำความรู้  มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
      กลยุทธ์ที่ 4  พัฒนาศักยภาพผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา สู่มาตรฐานวิชาชีพและเป็นมืออาชีพ
      กลยุทธ์ที่ 5  พัฒนาระบบบริหารจัดการโดยใช้ชั้นเรียน (CBM) และโรงเรียนเป็นฐาน (SBM)  แบบมีส่วนร่วมและหลักธรรมมาภิบาล